โดย น.พ.มานัต อุทุมพฤษ์พร
หู อวัยวะที่ทำหน้าที่รับฟังทุกเรื่องราว จนหลายคนละเลยความสำคัญไป แต่หูยิ่งเล็กก็ยิ่งต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยเฉพาะหูเล็กๆ ของน้องหนู
หูเป็นอวัยวะสำคัญของการได้ยิน เพราะการได้ยินเกิดจากคลื่นเสียงเดินทางกระทบแก้วหูผ่านกระดูกหูขึ้นมาที่ ประสาทหูมายังสมอง สำหรับในเด็กการได้ยินจะต่อยอดด้วยการเลียนแบบคำพูดและพูดได้ตามพัฒนาการ หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการได้ยินตั้งแต่เด็ก พัฒนาการด้านการพูดก็มีปัญหาตามมา
ความผิดปรกติของหูแต่กำเนิดเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อย เช่น ใบหูผิดปกติ ไม่มีรูหู ไม่มีใบหู ซึ่งมักจะมีแก้วหู กระดูกหู และโคเคลียผิดปกติไปด้วย ทำให้การนำเสียงและรับเสียงด้อยลง ถ้าหากผิดปกติเพียงหูข้างเดียวตั้งแต่เกิด เด็กยังสามารถพัฒนาภาษาพูดได้เหมือนคนปรกติ แต่ถ้าหากเป็นทั้ง 2 ข้าง การแก้ไขต้องทำก่อนอายุหนึ่งขวบ
"เมื่อเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับหู เด็กจะได้ยินน้อยกว่าปกติหรือถึงขั้นไม่ได้ยินเลย เกิดการเรียนรู้ช้า พูดช้า พูดไม่ชัด พูดผิดปกติ ส่งผลให้การเรียนด้อยลง เนื่องจากได้ยินครูพูดอธิบายไม่ชัด ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำสำหรับคุณครูว่าหากเด็กมีการเรียนรู้หรือพัฒนาการช้าต้องสังเกตว่าเด็กได้ยินหรือมองเห็นดีหรือไม่ รวมถึงมีการเลียนแบบตามพัฒนาการปกติหรือไม่ เป็นต้น"
ก็เพราะว่าในช่วงเด็กก่อนอายุ 3-5 ปีแรกของชีวิตนั้น เป็นช่วงที่สมองจะพัฒนาได้อย่างเต็มที่มากที่สุดในทุกๆด้าน รวมทั้งสมองที่รับรู้ด้านการได้ยินและพัฒนาการณ์ทางภาษาด้วย การที่สมองส่วนนี้ขาดการได้รับเสียงเข้ามากระตุ้นตั้งแต่แรกเกิด ทำให้สมองส่วนนี้ไม่ได้รับการพัฒนา ในกรณีที่เด็กๆเสียการได้ยินมากๆนั้น แม้มาพบในภายหลัง เมื่อโตแล้วไม่ยอมพูด การช่วยเหลือกระตุ้นการได้ยินที่ทำในตอนโต ก็ไม่สามารถทำให้เด็กกลับมาพูดหรือมีพัฒนาการณ์ทางภาษาที่เป็นปรกติได้แล้ว เนื่องจากเราเลยจากช่วงเวลาทองที่สมองในส่วนนี้จะพัฒนาได้เต็มที่ไป แต่อย่างไรก็ต้องพยายามช่วยเหลือเด็กๆอย่างเต็มที่ แม้ผลสำเร็จอาจไม่ดีเท่าช่วยกระตุ้นตั้งแต่เนิ่นๆ
ในกรณีที่การได้ยินเสียไปไม่มาก เด็กพอจะพูดหรือมีพัฒนาทางภาษาได้บ้าง การช่วยกระตุ้นการได้ยินแม้ทำในตอนโต ก็ช่วยแก้ปัญหาด้านพฤติกรรม และช่วยพัฒนาการเรียนให้มีประสิทธิภาพขึ้นได้
ถ้าท่านสงสัยว่าบุตรหลานมีปัญหาการได้ยิน อย่านิ่งนอนใจ เพราะการรอที่นานขึ้น จะยิ่งทำให้ปัญหาลุกลาม ควรรีบนำบุตรหลานเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหูและการได้ยิน เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัย และรักษาช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
อาการอย่างนี้...ต้องระวัง
ตามปกติหูชั้นนอกจะผลิตขี้หูเพื่อป้องกันแมลง มด ตัวเห็บ ตัวหมัด หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู บางคนอาจจะมีขี้หูเปียก บางคนอาจจะมีขี้หูแห้ง เมื่อมีปริมาณมากไปก็จะหลุดเองโดยธรรมชาติ ปกติจึงไม่จำเป็นต้องแคะขี้หูออกมา นอกจากมีความจำเป็น เช่น เมื่อเด็กมีไข้ เกิดการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนบน ไซนัสอ้กเสบ แพทย์จำเป็นต้องดูแก้วหูว่ามีการอักเสบของหูชั้นกลางหรือไม่ เด็กขึ้นเครื่องบินแล้วร้องปวดหู เด็กจะฝึกว่ายน้ำ หรือเด็กร้องปวดหูโดยไม่ทราบสาเหตุ
ในกรณีที่ขี้หูแข็งมาก แพทย์จำเป็นต้องให้ยาหยอดละลายขี้หูสองสามวันเพื่อให้ขี้หูนิ่ม จะได้สะดวกในการแคะหรือดูดออก
เด็กจะพูดได้ต้องได้ยินเสียงก่อน แล้วพูดเลียนแบบเสียงนั้น ถ้าหากเด็กไม่ได้ยินหรือได้ยินน้อยจะทำให้เด็กพูดได้ช้า หรือไม่พูดเลย เราจะทราบว่าเด็กได้ยินหรือไม่โดยการสังเกตปฏิกิริยาโต้ตอบและการเลียนแบบคำพูดของเด็ก หลักเกณฑ์คร่าวๆ ที่เด็กควรทำได้ในช่วงอายุต่างๆ ดังนี้
ถ้าเด็กอายุหนึ่งขวบแต่ยังไม่เรียกพ่อ แม่ หรือขวบครึ่งยังไม่พูดคำพยางค์เดียว หรืออายุ 2 ขวบยังพูดคำ 2 พยางค์ไม่ได้ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการทดสอบว่าระบบการรับเสียงปรกติหรือไม่
สาขา สุขุมวิท 42
โทร : 0 2712 1177, 0 2713 6232,
08 5357 8777
สาขา สุขุมวิท 22
โทร : 0 2258 2348, 0 2259 2502,
08 0554 3443
สาขา ลาดพร้าว 5
โทร : 0 2190 1172, 06 5215 4440
สาขา บางหว้า-บางไผ่
โทร : 0 2869 1169, 09 5252 1512
สาขา ชีวาแคร์คลินิก เชียงใหม่
โทร : 09 6980 0126, 052 005 457
คลินิก หูตึง หูดี ปรีชา หนองแขม
โทร : 0 2115 2440
คลินิกสาธิกาการได้ยิน สมุทรสาคร
โทร : 09 5918 2881